Javascript DHTML Drop Down Menu Powered by dhtml-menu-builder.com
กลับหน้าแรก
แนะนำหน่วยงาน
ข่าวประชาสัมพันธ์
บุคลากร
 
 

 ผู้ประสานงาน

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนุพัศ โลหิตนาวี
 ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 โทรศัพท์ 055-961807  โทรสาร 055-963731
 e-mail manupatl@gmail.com

 รายชื่อสมาชิก

ที่ ชื่อ-สกุล คณะ เบอร์โทรศัพท์ e-mail
1 ผศ.ดร.มนุพัศ โลหิตนาวี เภสัชศาสตร์ 0-5596-1807 manupatl@gmail.com
2 รศ.ดร.ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์ เภสัชศาสตร์ 0-5596-1826 nui_nathorn@yahoo.com
3 ดร.ภนิตตา เชนรัชสิทธิ์ เกษตรศาสตร์ 0-5596-2732 pprommas@hotmail.com
4 ดร.ชัชวาล จันทรวิจิตร เกษตรศาสตร์ 0-5596-2754 cjuntara@gmail.com
5 ดร.ชื่นจิตร กองแก้ว เภสัชศาสตร์ 0-5596-1825 chuenjid@googlemail.com
6 อ.อรรัตน์ โลหิตนาวี เภสัชศาสตร์ 0-5596-1829 ornratl@gmail.com
7 ดร.พีรดา อึ้งอุดรภักดี สาธารณสุขศาสตร์ 
8 อ.วรวิทย์ อินทร์ชม สาธารณสุขศาสตร์ 
9 อ.ทศพล บุตรมี สาธารณสุขศาสตร์ 
10 อ.ฤดีรัตน์ มหาบุญปิติ สาธารณสุขศาสตร์ 
11 อ.เชาวลิต สาธารณสุขศาสตร์ 
12 ดร.พิไลพักตร์ ชูมาก วิทยาศาสตร์ 084-1296639 cpilaipak@hotmail.com
13 รศ.ดร. ศิริพรรณ สารินทร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ 0-5596-4602 siripunc@nu.ac.th
14 ผศ.ดร.สุรพล ตั้งวรสิทธิชัย สหเวชศาสตร์ 089-6388382 Surapon14t@yahoo.com
15 ดร.ภัควดี เสริมสรรพสุข เภสัชศาสตร์ 0-5596-1828 spakawadee@hotmail.com

 ปฎิญญาของสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยามหาวิทยาลัยนเรศวร

1.พัฒนางานวิจัยทางอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา สู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ

2.สร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

3.เป็นที่ยอมรับของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับการวิจัย การเรียน การสอนและการฝึกอบรมทางอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาในระดับสากล

 หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร

           มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีพันธกิจสำคัญ 4 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จากการผลดำเนินงานตามพันธกิจดังกล่าวมาเป็นระยะเวลายาวนานเกือบ 20 ปี ทำให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศทั้งการเรียนการสอนและการวิจัย และเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยของคณาจารย์ รวมทั้งเพื่อเป็นการขยายการยอมรับจากระดับประเทศไปสู่ระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยนรศวรจำเป็นต้องจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เกิดจากความร่วมมือแบบภาคี (consortium) ของอาจารย์จากคณะต่างๆใน โดยแนวทางความร่วมมือนั้นมาจากพื้นฐานของความพร้อมและความเข้มแข็งทางวิชาการ

           จากการรวบรวมข้อมูลศักยภาพของนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่าสาขาที่มีความเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการอธิบายการเกิดพิษจากสารพิษ/สารเคมี การประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสัมผัสสารพิษ และการใช้การวิเคราะห์เชิงอภิมาน (meta-analysis) ในการประเมินการเกิดพิษจากสารเคมีในมนุษย์ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาเหล่านี้ ควรได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบภาคี ภายใต้ทิศทางที่กำหนดร่วมกันโดยสมาชิกในศูนย์ความเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข้งในการผลิตงานวิจัยที่ยั่งยืนและได้รับการยอมรับในระดับสากลดั่งปฏิญญาที่กำหนดไว้

 วิสัยทัศน์ (Vision)

           มุ่งพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศระดับสากล

 พันธกิจ (Mission)

1. เพื่อมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่ในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา

2. สร้างความร่วมมือในด้านงานวิจัยที่มีคุณภาพในรูปแบบสหสาขา โดยใช้ความสามารถของนักวิจัยที่มีอยู่ให้เกิดการทำวิจัยใหม่ในระดับสากลในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา

3. ผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา

4. พัฒนาศักยภาพของนักวิจัยหลังปริญญาเอก

5. นำผลงานวิจัยและผลจากการประเมินความเสี่ยงที่ได้ไปนำเสนอต่อชุมชนและภาครัฐ เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อสภาพความต้องการของชุมชนและสังคมต่อไป

 เป้าหมาย

           สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร มีจุดมุ่งหมายที่จะผลิตผลงานวิจัยที่มีมาตรฐานสูงและบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษา โดยจะสนับสนุนให้คณาจารย์และนิสิตที่เป็นสมาชิกของสถานวิจัยฯ ได้มีส่วนร่วมที่จะยกระดับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและการทำวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเท่าเทียมกับมาตรฐานระดับนานาชาติ

 วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนางานวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ

2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยและกลุ่มวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาในทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

3. เพื่อผลิตผลงานวิจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพของประชากรและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

4. เพื่อผลิตมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาในจำนวนที่เพียงพอ มีความสามารถและคุณสมบัติที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ

5. เพื่อสร้างความเข้าใจและทำข้อความตกลงร่วมมือระหว่างนักวิจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาที่มีขีดความสามารถสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคอุตสาหรรม เพื่อผลิตผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

6. เพื่อให้เป็นองค์กรการวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาที่เป็นที่ยอมรับของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับการเรียนการสอนและวิจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา

 แผนกลยุทธ์

1. สร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างคณะวิชาต่างๆ และหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัย เพื่อผลิตนิสิตระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐานสากล และมีทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ

2. สร้างความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ ภาควิชา ผู้บริหารคณะต่างๆที่เกี่ยวข้อง และมหาวิทยาลัย ในการกำหนดจัดหาพัฒนาองค์ประกอบของสาขาวิชาที่สร้างความเป็นเลิศในแต่ละหลักสูตร ส่งเสริม และพัฒนาความสามารถทางวิชาการของคณาจารย์ รวมทั้งเสริมสร้างระบบจูงใจให้บุคลากรสามารถสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ

3. พัฒนาระบบการจัดการศึกษาและวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาให้มีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกและดึงดูดนิสิตที่มีคุณภาพเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา การจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมวิชาการประจำปี และการประเมินทั้งภายนอกและภายใน

4. พัฒนากลไกเพื่อดึงดูดนิสิตที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาศึกษาและวิจัยในระดับสูง โดยการจัดทุนการศึกษา ทุนวิจัย และสร้างบรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา 

5. พัฒนาคุณภาพของการศึกษาและวิจัยแบบบูรณาการ โดยประสานความร่วมมือกับทั้งในและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากร (Staff Development Program) ให้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการศึกษาและวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาโดยร่วมมือกับสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยให้การสนับสนุนเงินทุนไปทำวิจัยในระยะสั้นในต่างประเทศ การเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อให้คำปรึกษาด้านการวิจัย (Research Mentoring System) และการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ (Visiting Experts) มาเป็นวิทยากรในการประชุมต่างๆ

6. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่มีเป้าหมายสอดคล้องกัน เช่น โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นต้น

7. จัดระบบการสื่อสารผลงานทางวิชาการและองค์ความรู้ เพื่อเสริมปฏิสัมพันธ์กับประชาคมทางวิชาการ ภาคการผลิต และสาธารณชนเพื่อนำไปสู่สังคมการเรียนรู้

8. เชื่อมโยงเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันชั้นนำด้านทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาของประเทศและโลก สร้างงานวิจัย หรือรวมกลุ่มทำงานวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ตลอดจนสร้างกิจกรรมเพื่อเป็นแหล่งรองรับและเชื่อมต่องานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสถาบัน การศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำ

9. จัดตั้งกลุ่มวิจัยที่มีศักยภาพ เพื่อทำการค้นคว้าวิจัยในงานวิจัยระดับแนวหน้า หรือผลงานที่สนับสนุนนวัตกรรม และงานที่สามารถช่วยพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจัดหาและสนับสนุนด้านเงินทุน เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่จำเป็น

 แผนการบริหารศูนย์วิจัย

           นำระบบบริหารแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการบริหารจัดการของสถานวิจัยฯ จัดตั้งคณะกรรมการหรือตัวแทนจากคณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อรับผิดชอบในแผนงานต่างๆ มีระบบติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน จัดระบบการตรวจสอบภายใน มีที่ปรึกษาภายนอกเพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือในด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภายนอก และจัดหาผู้เชี่ยวชาญภายนอกเพื่อประเมินผลงานของสถานวิจัยฯ

 แนวทางวิจัย

           ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยามุ่งเน้นสนับสนุนการวิจัยแบบบูรณาการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ มีการกำหนดทิศทางการวิจัย (Research Direction) อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถสร้างความเข้มแข็งที่จะเป็นรากฐานในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางได้ ซึ่งจะดำเนินการวิจัยที่มุ่งเป้าหมายชัดเจน 2 ด้าน ดังต่อไปนี้

1. ด้าน Quantitative & Computational Toxicology
           ในปัจจุบันมีสารเคมีที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมหรือสารพิษต่างๆที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมาก สารเคมีเหล่านี้มีโอกาสที่จะปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อาจได้รับสัมผัสและเกิดเป็นปัญหาทางสุขภาพขึ้นได้ เช่น สารพิษที่มีผลต่อระบบของต่อมไร้ท่อ (endocrine disruptors) โลหะหนัก (heavy metals) และสารกลุ่มไดออกซินและสารกลุ่มโพลี่คลอโรไบเฟ็นนิลหรือพีซีบี (dioxins and polychlorobiphenyls or PCBs) เป็นต้น ซึ่งสารต่างๆเหล่านี้สามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคมะเร็งและความผิดปกติต่อระบบสืบพันธ์ สารพิษเหล่านี้นอกจากจะสามารถตรวจพบได้ในเขตภาคเหนือตอนล่างแล้วยังสามารถพบได้ทั่วโลก ดังนั้นปัญหาที่เกี่ยวกับสารพิษเหล่านี้และการวิจัยที่เกี่ยวข้องย่อมเป็นที่สนใจต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ทั้งนี้ในมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นองค์กรที่มีนักวิจัยและกลุ่มวิจัยที่มีความสามารถสูง ในด้านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการใช้การวิเคราะห์เชิงอภิมาน ซึ่งวิธีการในการวิจัยทั้งสองชนิดนี้เป็นเครื่องมือวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้กลุ่มนักวิจัยเหล่านี้มีผลงานเป็นที่ยอมรับและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาและวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างๆที่มีค่า journal impact factor สูง ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่มีเอกลักษณ์ (uniqueness) ในการสร้างสรรค์งานวิจัยด้าน quantitative & computational toxicology ให้กับมหาวิทยาลัย ประเทศไทย และสังคมวิทยาศาสตร์ของโลกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลงานที่เกิดจากการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถนำไปใช้ต่อเนื่องกับงานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสัมผัสสารเคมีได้ต่อไปอีกด้วย

2. ด้านการประเมินความเสี่ยงของโลหะหนักและสารพิษที่มีความสำคัญบางชนิดในเขตภาคเหนือตอนล่าง (Risk Assessment of Some Heavy Metals & Significant Toxicants Prevalent in the Lower Northern Region)
           ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการทำกิจกรรมเหมืองแร่อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อมจนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพต่อประชากร และทำให้เกิดปัญหาต่อชุมชนที่เกี่ยวข้อง
อย่างรุนแรงจนเกิดเป็นปัญหาในระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเกิดการปนเปื้อนของสารโลหะหนัก เช่น แคดเมี่ยม โดยมีกลุ่มนักวิจัยเข้าไปทำการศึกษาวิจัยการเกิดพิษของโลหะหนักดังกล่าวในชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวยังไม่มีการทำการประเมินความเสี่ยงอย่างถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นระบบ ทั้งนี้นักวิจัยและกลุ่มวิจัยทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาของมหาวิทยาลัยนเรศวรมีศักยภาพในการทำการประเมินความเสี่ยงได้อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือกลุ่มวิจัยสามารถใช้เทคนิคการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการทำ dose-response assessment การประเมินการได้รับสัมผัส (exposure assessment) ของประชากรในชุมชนเป้าหมาย การให้ลักษณะของความเสี่ยง (risk characterization) และการบริหารความเสี่ยง (risk management) ซึ่งการทำวิจัยแบบครบวงจรดังกล่าวจะสามารถสร้างองค์ความรู้และคำแนะนำที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ต่อผู้กำหนดนโยบาย (policy maker) ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรมต่อไป
 

 แผนการดำเนินงาน ระยะเวลา 3-5 ปี

กิจกรรม 2554 2555 2556 2557 2558

1. จัดตั้งศูนย์และแผนการบริหารศูนย์   

2. ดำเนินการตามยุทธศาสตร์

3. การประเมินตามตัวดัชนีชี้วัด

 งบประมาณ (สำหรับปีงบประมาณ 2555)

รายการ 2554-2555
1. ค่าตอบแทนผู้อำนวยการสถานวิจัย (ตุลาคม 2554-กันยายน 2555) 134,400

2. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่และนักวิจัย
- ค่าล่วงเวลาสำหรับเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน และพัสดุ (เดือนละ 2,000 บาท จำนวน 2 คน) 48,000
- ค่าตอบแทนนักวิจัย (เดือนละ 3,000 บาท จำนวน 1 คน โดยปฏิบัติงานประมาณ 12-20 ชั่วโมง/สัปดาห์) 36,000

3. ครุภัณฑ์สำหรับสำนักงาน (เช่น โทรศัพท์ โต๊ะทำงาน ตู้เอกสาร จอคอมพิวเตอร์และอื่นๆ) 80,000

4. ค่าดำเนินการ
- วัสดุสิ้นเปลืองและวัสดุคอมพิวเตอร์ (โดยการตัดจ่ายเข้าคณะเภสัชศาสตร์) 15,000
- ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม  5,000
- ค่าหนังสือและวัสดุคอมพิวเตอร์และอื่นๆ 31,600

5. ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุมและการเดินทางของที่ปรึกษาของสถานวิจัยและสมาชิกทั้งคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต 150,000

รวมทั้งสิ้น (ถัวเฉลี่ยทุกรายการ) 500,000 บาท

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามเป้าหมายตัวชี้วัด ดังนี้

ดัชนี จำนวน
1. การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ (เรื่อง/ปี) 5

2. นวัตกรรม, ทรัพย์สินทางปัญญา, เทคโนโลยีใหม่, สิ่งประดิษฐ์ต้นแบบ (เรื่อง/ปี) -

3. จำนวนเงินทุนภายนอกที่ได้รับการสนับสนุน (ล้านบาท/ปี) 1

4. การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารในประเทศ (เรื่อง/ปี) 5

5. การนำเสนอผลงานในการประชุมระดับนานาชาติ (เรื่อง/ปี) -

6. การจัดประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ (ครั้ง/2 ปี) -

7. การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการในประเทศ (เรื่อง/ปี) 5

8. การจัดประชุมสัมมนาระดับชาติ (ครั้ง/ปี) -

9. การถ่ายทอดเทคโนโลยี / การให้บริการวิชาการของศูนย์ (ครั้ง/ปี) 2

10. จำนวนคณาจารย์ / นิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาที่เพิ่มขึ้นภายใต้ศูนย์ฯ (%/ปี) 5

 ข้อมูลศักยภาพของคณะนักวิจัย

สรุปผลงานที่สำคัญ

1. การผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพระดับสูง
           สมาชิกของสถานวิจัยฯจากคณะต่างๆ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรทางด้านการศึกษาทั้งในระดับปริญญาโทและเอก โดยมีนิสิตในระดับปริญญาโทและเอกที่จบการศึกษา และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งนิสิตที่สำเร็จการศึกษามีคุณภาพในระดับสูงเทียบเท่ากับมาตรฐานในระดับนานาชาติ โดยมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือได้รับการสนับสนุนจากโครงการกาญจนาภิเษก (คปก.) และผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มีมาตรฐาน (Impact Factor)

2. การผลิตผลงานวิจัยระดับนานาชาติ และผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์
           สมาชิกของศูนย์ฯ ได้ผลิตผลงานวิจัยระดับนานาชาติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา งานวิจัยทั้งหมดนี้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาหรือช่วยแก้ปัญหาที่เป็นประเด็นสำคัญของประเทศในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงหรือค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณค่าสำหรับหน่วยงานต่างๆ  และสาธารณชนโดยรวม

3. ความร่วมมือกับต่างประเทศ
           ความร่วมมือกับต่างประเทศเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา โดยเป็นการเพิ่มโอกาสให้นิสิตและคณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถ่ายทอดความรู้จากคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ศูนย์วิจัยจะสร้างเครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวดับสถาบันต่างๆทั้งในและนอกประเทศ

 โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงานของคณะนักวิจัยและแหล่งทุน

           ยังไม่มี

 
ลิงค์ภายในคณะเภสัชฯ
สถานวิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน
ปฏิทินการศึกษา
ประกันคุณภาพการศึกษา
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ลิงค์ภายในมหาวิทยาลัย
หน้าหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร
e-Registrar
กองบริหารการวิจัย
หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
คณะเภสัชศาสตร์ภายในประเทศ
สภาเภสัชกรรม
ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.)
หน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัย
www.pha.nu.ac.th
© 2010 มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 0-5596-3730, 0-5596-3732 | โทรสาร : 0-5596-3731
Online จำนวน : 1 คน จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์