จากการเข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อ การใช้ทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพ ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555 รศ. ดร. ทัศนา พิทักษ์สุธีพงษ์ ได้สรุปเรื่องและนำมาเล่าให้นักวิจัยได้รับทราบกัน ดังนี้
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) คืออะไร?
เป็นอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่มีเจตนารมณ์ ให้รัฐบาลทุกประเทศ พัฒนาประเทศโดยไม่ละเลยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักไว้ 3 ประการ คือ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และ เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม โดยอนุสัญญา CBD ถือกำเนิดขึ้นในปี 1992 จากนั้นการนำอนุสัญญาเข้าสู่การปฏิบัติก็ได้มีการจัดทำ พิธีสารนาโงยา (Nagoya protocol)
อะไรคือทรัพยากรทางชีวภาพ?
ทรัพยากรพันธุกรรม (สารใดๆของ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือแหล่งกำเนิดอื่นๆซึ่งบรรจุหน่วยที่ถ่ายทอดสารพันธุกรรมได้ รวมทั้ง product ที่เกิดเนื่องจากสิ่งเหล่านี้ เช่น extract ของพืช)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม
พิธีสารนาโงยา (Nagoya protocol) คืออะไร?
เป็นหลักปฎิบัติเมื่อจะมีการนำทรัพยากรทางชีวภาพมาใช้
ซึ่งมีหลักสำคัญ 3 ประการคือ
PIC = Prior Informed Consent ซึ่งเป็นขั้นการขออนุญาติใช้ทรัพยากรทางชีวภาพ
MAT = Mutually Agreed Terms ขั้นคุยกันว่าจะมีการดำเนินแบ่งผลประโยชน์กันอย่างไร
BS = Benefit Sharing การแบ่งปัน
เราเกี่ยวข้องอย่างไร?
ขอสรุปแค่ในฐานะผู้วิจัย ว่าเราเกี่ยวข้องอย่างไร เราเกี่ยวข้องใน 2 ทาง (ขอยกตัวอย่างสั้นๆ)
- ผู้ใช้ เช่น กรณีที่เราจะไปขอ culture collection ใคร หรือ การขอ/เก็บพันธุ์พืช-สัตว์เพื่อมาทำวิจัย จะเป็นการขอแบบใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลแบบเดิมไม่ได้ ต้องมีการขออย่างเป็นทางการ โดยผู้ให้ควรทำเป็น MTA (Material Transfer Agreement) ก็เป็นสิ่งที่เขียนไว้ว่าสารนั้นคืออะไร ได้มาจากใคร ที่ไหน เจ้าของกำหนดให้เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เช่น เฉพาะการวิจัย
- ผู้ให้ เช่น กรณีงานวิจัยเราประสบความสำเร็จ แล้วอยากทำเป็น commercial products ให้กับบริษัทเอกชน ก็ต้องมีการตกลงเรื่อง Benefit Sharing กับ source ของทรัพยากรทางชีวภาพที่เราไปเอามา เราไม่สามารถที่จะดำเนินการได้เลย การจดสิทธิบัตร หรือใดๆก็ต้องขอหรือแจ้ง
สถานะปัจจุบัน
ปัจจุบันอนุสัญญา CBD มีภาคีสมาชิก 191 ประเทศ สำหรับประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 1992 ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2003 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 29 มกราคม 2004 (พ.ศ. 2547) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยมีสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยประสานงานหลัก (National Focal Point) และตอนนี้แต่ละหน่วยงานก็เริ่มทำกฎ-ระเบียบเพื่อรองรับ CBD ก่อนที่จะประกาศใช้จริงจังทั่วโลก ซึ่งแน่นอนการทำวิจัยต้องมีขั้นตอนเหล่านี้มาเกี่ยวข้องค่ะ
QUIZ อ่านจบแล้วลองทบทวนคำเหล่านี้นะคะ• CBD
• PIC
• MAT
• BS
• MTA
Monday, June 11. 2012
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD)
Wednesday, March 14. 2012
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ในหนังสือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ กล่าวถึง จรรยาวิชาชีพวิจัย ภาษาอังกฤษ เรียก research code of conduct หมายถึง ประมวลหลักความประพฤติที่แสดงถึงมาตรฐานการปฏิบัติงาน (standards of work performance) และความมีจริยธรรม (research ethics) เพื่อรักษาและส่งเสริมเกีรยติคุณ ชื่อเสียง และ ฐานะของความเป็นนักวิจัยในสาขาวิชาชีพของตน
ส่วน แนวทางปฏิบัติ (code of practice หรือ best practice)นั้น หมายถึง แนวทางพื้นฐานในการประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย ที่ถือเป็นแบบอย่างที่ดีที่สมควรยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพวิจัยและจริยธรรมการวิจัย
(จากหนังสือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ วช หน้า 3-4 )
ส่วน แนวทางปฏิบัติ (code of practice หรือ best practice)นั้น หมายถึง แนวทางพื้นฐานในการประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย ที่ถือเป็นแบบอย่างที่ดีที่สมควรยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพวิจัยและจริยธรรมการวิจัย
(จากหนังสือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ วช หน้า 3-4 )
หนังสือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) ได้จัดทำหนังสือ จรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยยึดถือประพฤติปฏิบัติ เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะความเป็นักวิจัยที่มีคุณภาพ รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาคมวิจัยทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
ภายในเล่มมีการให้นิยามศัพท์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น ความหมายของจรรยาวิชาชีพ จริยธรรมการวิจัย ความเป็นผู้นิพนธ์ (authorship) ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) การคัดลอกผลงานของผู้อื่น (plagiarism) การคัดลอกผลงานของตนเอง (self-plagiarism) การปลอมแปลงข้อมูล (falsification) และ การสร้างข้อมูลเท็จ (fabrication) เป็นต้น
เนื้อหาอื่นๆ ในหนังสือ
1. จรรยาวิชาชีพของนักวิจัย และแนวทางปฏิบัติ
2. จรรยาวิชาชีพในการทำวิจัย และแนวทางปฏิบัติ
3. แนวทางปฏิบัติของนักวิจัยต่อผู้อื่นและหน่วยงาน
4. แนวทางปฏิบัติของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
5. การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย
ในอนาคตคงได้นำเนื้อหาภายในเล่ม มาเล่าสู่กันฟังใน blog วิจัยของคณะแห่งนี้
ภายในเล่มมีการให้นิยามศัพท์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น ความหมายของจรรยาวิชาชีพ จริยธรรมการวิจัย ความเป็นผู้นิพนธ์ (authorship) ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) การคัดลอกผลงานของผู้อื่น (plagiarism) การคัดลอกผลงานของตนเอง (self-plagiarism) การปลอมแปลงข้อมูล (falsification) และ การสร้างข้อมูลเท็จ (fabrication) เป็นต้น
เนื้อหาอื่นๆ ในหนังสือ
1. จรรยาวิชาชีพของนักวิจัย และแนวทางปฏิบัติ
2. จรรยาวิชาชีพในการทำวิจัย และแนวทางปฏิบัติ
3. แนวทางปฏิบัติของนักวิจัยต่อผู้อื่นและหน่วยงาน
4. แนวทางปฏิบัติของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
5. การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย
ในอนาคตคงได้นำเนื้อหาภายในเล่ม มาเล่าสู่กันฟังใน blog วิจัยของคณะแห่งนี้
(Page 1 of 1, totaling 3 entries)